การใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนให้ถูกวิธีในการวัดความดันให้ผู้ป่วย

13769046381

เมื่อเราไปพบแพทย์ก่อนที่จะเข้าห้องแพทย์พยาบาลจะให้ทำการชั่งน้ำหนักและวัดขั้นพื้นฐาน 2 อย่าง คือ วัดความดันโลหิตและอมปรอทวัดอุณหภูมิ การวัดความดันโลหิตนั้น มีทั้งเครื่องวัดความดัน สอดแขนรุ่นเก่าและแบบ Automatic Blood Pressure Measurement ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล ถ้าไปพบแพทย์ครั้งละหลายท่านแต่ละท่านก็มักจะวัดความดันใหม่ด้วยตนเอง มีทั้งแบบให้นั่งแล้ววัดกับแบบที่ให้นอนบนเตียงแล้ววัดและบางท่านก็กล่าวว่า แบบที่นอนวัดนั้นให้ค่าที่ถูกต้องมากกว่า แต่เข้าใจว่า คงต้องการให้จุดที่วัดความดันโลหิตนั้นอยู่ในระดับหัวใจ แต่ในทัศนะของผู้เขียนที่มีความรู้ทางด้านนี้น้อยคิดว่า ค่าความดันโลหิตนั้น แกว่งไปมาได้ คือขึ้นๆลงๆในช่วงหนึ่ง และการวัดค่า ก็คงจะได้ค่าที่อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยพอใช้ได้ ถ้าวัดหลายครั้งแต่ละครั้งก็มักจะไม่ค่อยเท่ากันแต่ก็ใกล้เคียงกัน

การใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนนั้นความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นเราควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้งต่อนาที ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจาก โรคหัวใจและโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตและใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนที่มีคุณภาพ

This entry was posted in เทคโนโลยี and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.